จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ว่าการก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0  นั้นภาครัฐได้ว่ายุทธศาสตร์เอาไว้  โดยมุ่งเป้าไว้ที่  3  ประการคือ  รายได้ของประชาชนสูงขึ้น

มีการกระจายความมั่งคั่ง  และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งในบทบาทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่ได้กำหนดไว้  จึงต้องตั้งความหวังไว้ที่  หน่วยงาน HR ให้มีการปรับตัว เตรียมข้อมูลไว้ตั้งแต่เริ่มแรก  จะได้ไม่ตกยุค  โดยสิ่งที่ผู้เขียน  จะพอสรุปคร่าวๆ  ให้หน่วยงาน HR ได้มีการเตรียมตัวด้านใดบ้าง

  1. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society)  ต้องยอมรับว่าอายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่มีจำนวนมากสุด ณ ขณะนี้คือ อายุที่ 49  ปี ย่างเข้า 50 ปี  ซึ่งเป็นประชากรไทยที่มีจำนวนมากที่สุด  อาจจะพูดได้ว่า  สังคมไทยก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุก็ว่าได้  สิ่งที่จะเป็นปัญหาตามมา ตอนนี้ก็คือ  องค์ความรู้จากพนักงานรุ่นเก่า ไปสู่พนักงานรุ่นใหม่  กำลังจะมีปัญหา  HR  จะทำอย่างไรที่สามารถดึงศักยภาพ ความรู้ฝังลึกที่อยู่ในแต่ละบุคลได้  เพื่อที่จะนำมาเก็บไว้ที่องค์กร  เพื่อประโยชน์ต่อกระบวนการทำงาน การแก้ปัญหาภายในองค์กร  และอีกไม่นาน นอกจากความรู้จะหายไปกับพนักงานที่เกษียณแล้ว  องค์กรต้องหาคนมาทดแทนตำแหน่งพนักงานที่กำลังจะเกษียณไป  ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการจัดทำแผนหาผู้สืบทอดตำแหน่ง  ของผู้เกษียณ   วางแผนการถ่ายทอดความรู้  เพื่อที่จะจัดเก็บไว้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ

สิ่งที่หน่วยงาน HR  ต้องพึงระวังสำหรับพนักงานที่เข้าสู่วัยเกษียณ   การที่จะได้องค์ความรู้จากผู้เกษียณค่อนข้างลำบาก เพราะบางท่าน การถ่ายทอด ทักษะ ความรู้ไม่ค่อยมี ต้องอาศัยการจดบันทึกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะ ไปด้วย ฉะนั้น หน่วยงาน HR อาจจะต้องมีความพร้อมในการเตรียมข้อมูล เพื่อให้ได้มา ซึ่งเอกสาร องค์ความรู้  จากผู้เกษียณ

นอกจากนั้นแล้ว พนักงานที่ใกล้วัยเกษียณ  มักมีแนวคิดที่เป็นระบบเก่า เครื่องมือเทคโนโลยี สมัยใหม่  ไม่ค่อยสันทัด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาได้  และแนวคิดของพนักงานที่ใกล้เกษียณ  กับพนักงานใหม่ที่เพิ่มรับเข้าสู่องค์กร บางครั้ง มีแนวความคิดที่แตกต่างกัน  โดยสิ้นเชิง  การบริหารแนวความคิดของคนทั้งสองกลุ่มนี้  ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ หน่วยงาน HR  ต้องมีความเข้าใจ ความต้องการของพนักงานทั้งสองกลุ่มด้วยเช่นกัน

จากกรณีที่บางองค์กร  มีพนักงานที่ครบกำหนด เกษียณอายุ จำนวนหลายคนในปีนั้น ๆ  อาจจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหา การทบทวนการเกษียณอายุของพนักงานบางกลุ่ม/บางสาขาวิชาชีพ ให้เลื่อนออกไปก่อนก็ได้  เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมด้าน บุคคลากรทดแทนได้ทัน

  1. ความหลากหลายของพนักงานภายในองค์กร เมื่อมี พนักงานบางกลุ่มเกษียณไป ก็มีความจำเป็นต้องรับพนักงานใหม่ เข้ามาทดแทน   การที่มีจำนวนพนักงานค่อนข้างหลากหลายกลุ่มแบบนี้  จะมีความยาก ในการบริหารสวัสดิการ จะออกแบบสวัสดิการที่เหมาะสม กับพนักงานแต่ละกลุ่มอย่างไรบ้าง  ซึ่งต้องไม่พ้นหน่วยงาน HR  ที่จะต้องเข้าไปสำรวจพนักงานแต่ละกลุ่ม  เพื่อกำหนดหาความต้องการ  และนำมาออกแบบสวัสดิการที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่ม  การกำหนดกฎเกณฑ์  กติกา ของพนักงาน เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น  หน่วยงาน HR  ควรจะต้องมีทักษะ เชิงการบริหารพนักงานแบบหลากหลายกลุ่ม  และมีวิธีการออกแบบสวัสดิการและค่าจ้าง เพื่อที่จะดึงดูดพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาสู่องค์กร และรักษาพนักงานที่เป็นคนรุ่นกลาง และเก่า  ให้มีความรู้สึกว่า องค์กรไม่ได้ทอดทิ้ง ยังเห็นความสำคัญของพนักงานกลุ่มนี้อยู่  ซึ่งเป็นทักษะของ HR  ที่ต้องมีความหยืดหยุ่นสูง และมีความเข้าใจในตัวพนักงานอย่างแท้จริง
  2. รูปแบบของเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไป      จากอุตสาหกรรม

ที่เน้นการผลิต ปริมาณมากและใช้แรงงานราคาถูก ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่พึ่งพาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์   นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล   หน่วยงาน HR ต้องมีหน้าสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนให้สูงขึ้น และหาทางสร้างคนให้เป็นนักคิด ที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้ โดยจะต้องเริ่มที่  กระบวนการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร แบบเข้มข้น  เพื่อคัดกรองคนที่เข้ามา ให้ตอบโจทย์ของแต่ละหน่วยงานได้  การที่จะสรรหาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์/นวัตกรรม คงไม่ได้จำกัดที่สถาบันใดเป็นหลัก ควรมีการเปิดกว้าง เพื่อที่จะได้ผู้สมัครที่มีความหลากหลายทางความคิดเข้ามา ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรม ในการทำงาน ตรงกับแนวทางการผลิตสมัยใหม่

  1. การเปลี่ยนแปลง/โลกาภิวัฒน์มีความเข้มข้นมากขึ้น ประเทศต่างในทั่วโลก มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการผลิตมากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านต้นทุนการผลิต ด้านคุณภาพของสินค้าและการบริการ  หน่วยงาน HR ต้องติดตามสถานการณ์ อยู่ตลอดเวลา  เพื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในการนำเครื่องจักรสมัยใหม่มาใช้แทนแรงงานที่มีอยู่เดิม  อาจจะส่งผลต่อขวัญกำลังพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในองค์กรได้  แผนการสื่อสารให้กับพนักงาน จะต้องมีความเร่งด่วน และให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงหรือเกิดปัญหาด้านการปิดโรงงาน โดยจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจตามมา
  2. การพึ่งพาโลกออนไลน์หรือดิจิทัลมากขึ้น เพราะข้อมูลแทบทุกอย่างในอนาคตจะถูกเชื่อมโยง  อยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต  ในฐานะ HR จะต้องนำระบบดิจิทัลมาใช้  ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง  เพื่อเป็นการเสริมสร้างด้านการบริหาร ให้เหมาะสมกับยุคสมัยตอบโจทย์ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่  มีทักษะความสามารถ ด้านนี้อยู่แล้ว  ซึ่งทางกลับกันการใช้ดิจิทัลของพนักงานรุ่นใหม่  อาจจะไปกระทบต่อกระบวนการทำงานขององค์กรด้วยเช่นกัน  การที่หน่วยงาน HR จะไปออกกฎเกณฑ์ บังคับมากจนเกินไป ก็จะยิ่งทำให้พนักงานกลุ่มนี้  เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อผู้บริหารและองค์กร  ตามไปด้วย  ฉะนั้นการปรับบทบาท กระบวนการทำงานของระบบงาน HR จึงต้องให้เกิดความสมดุลระหว่างพนักงานรุ่นใหม่และผู้บริหารองค์กร
  3. Mobile Technology ระบบสมาร์ทโฟน เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราเยอะมาก แทบจะทุกคนที่มีสมาร์ทโฟนไว้ใช้อย่างน้อย 1 เครื่อง บางคนอาจจะมีมากกว่า 1 เครื่องก็ได้  เช่น นโยบายของภาครัฐให้มี  National e-Payment  หรือพร้อมเพย์  ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้น ส่งเสริมให้มีการใช้สมาร์ทโฟนกันแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น

       จะเห็นได้ว่ามิติใหม่ของการชำระเงิน จากเงินสดสู่คิวอาร์ธนาคารหลายแห่งเปิดตัวบริการชำระเงินแบบ “คิวอาร์โค้ด”กันอย่างคึกคัก นี่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการชำระเงินของไทยกำลังจะเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ก้าวไปสู่ยุคของการสแกน เพื่อจ่ายใกล้จะหมดยุค การพกกระเป๋าเงิน หยิบเงินสดมาชำระสินค้ากันแล้ว

มาทำความเข้าใจกับคิวอาร์โค้ด คือ อะไร QR Code ย่อมาจาก Quick Response Code มีลักษณะเป็นรหัสเส้นเรียงตัวกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส พัฒนาการมาจากบาร์โค้ด ที่เป็นแถบรหัสสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน ที่เห็นกันจนชินตา ในบิลเรียกเก็บ ค่าน้ำ ค่าไฟ โดยคิวอาร์โค้ตนี้ล้ำสมัยกว่า เพราะใส่รหัสเฉพาะได้หลายหน่วยงานและอ่านง่าย เพียงใช้โทรศัพท์มือถือที่มีฟังก์ชั่นหรือแอพพลิเคชั่น ส่องไปที่รหัสนั้น  ระบบจะตอบสนองทันที ไม่ว่าจะลิงค์เว็บไซต์ แอดไลน์ และล่าสุดนี้ เทคโนโลยีได้นำคิวอาร์โค้ดไปสู่ระบบการชำระเงินหรือคิวอาร์เพย์เมนต์  ที่รัฐบาลกำลังจะนำมาใช้ในวันที่  30 สิงหาคม 2560 นี้  เรียกว่า คิวอาร์เพย์เมนต์ในประเทศ ซึ่งเรียกง่ายๆว่า คิวอาร์พร้อมเพย์ (QR Prompt pay) เป็นการหักบัญชีพร้อมเพย์ที่ทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ  เป็นการกำจัดจุดอ่อนการชำระเงินคิวอาร์โค้ตในอดีต ที่จ่ายได้เฉพาะธนาคารเดียวกัน แต่จากนี้ไปไม่ว่าผู้จ่ายจะมีบัญชีธนาคารไหนหรือร้านค้าจะมีบัญชีใด ก็เป็นส่วนบุคคลไม่บังคับ สามารถชำระเงินให้กันแน่นอน  นั่นเป็นเพราะธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สร้างมาตรฐานคิดวอาร์โค้ตของไทย ขึ้นมาใหม่ ให้ธนาคารพัฒนาคิวอาร์โค้ตบนมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถอ่านโค้ตกันได้หมด  เทคโนโลยีมาเร็วจนเครื่องอีดีซีกลายเป็นเทคโนโลยีเก่าและล้าสมัยไปแล้ว  เพราะเมื่อช่องทางการรับชำระเงินแบบคิวอาร์โค้ต ที่ถูกกว่า ง่ายกว่า สำหรับร้านค้าก็คงต้องเลือกไปทางนั้น ก็ต้องลองคิดดูครับว่า การใช้มือถือกับการถือบัตร ผู้บริโภคกำลังฮิตแบบไหนมากกว่ากัน

ฉะนั้นหน่วยงาน HR  ต้อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การสรรหาคัดเลือก การสัมภาษณ์ และการฝึกอบรม ให้อยู่บนระบบสมาร์ทโฟน ให้หมด  เพื่อจะได้ใช้อุปกรณ์ในส่วนของพนักงาน ที่มีความชำนาญในการใช้งานและเกิดความสะดวก และรัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบ คิวอาร์โค้ต ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่มาปฏิบัติงานภายในองค์กรอีกด้วย

  1. สังคมการมีส่วนร่วม การบริหารงานขององค์กรจะใช้อำนาจของผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้สั่งการ  ถือว่าหมดยุคไปแล้ว  เพราะว่าการบริหารงานแบบสมัยใหม่ ต้องมีเครื่องมือในการส่งเสริมให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรเพิ่มมากขึ้น หน่วยงาน HRต้ องสร้างระบบ การมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร และสร้างโอกาสให้พนักงาน รวมถึงลูกค้าที่ซื้อ สินค้าและบริการสามารถมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์  เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงคุณสินค้าและบริหารให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยแท้จริง
  2. การเรียนรู้ผ่าน Social เป็นสิ่งสำคัญในโลกอนาคต เช่น  Social media Social networking และ Social Learning

หน่วยงาน HR  ต้องปรับเปลี่ยนจากการบริหารแบบเดิมคือ นายอำนาจ มาเป็น

นายอำนวย     คอยอำนวยความสะดวก  หาช่องทาง ในการส่งเสริมพนักงานได้

เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

  1. องค์กรในอนาคตต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น ให้ความสำคัญในการพัฒนายั่งยืน จาก CSR(Corporate Social Responsibility) มาเป็น CSV (Creating Shared Value)  ปลูกฝังค่านิยม เรื่อง   ความรับผิดชอบต่อสังคม ชีวิตสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ

ทุนนิยมแบบมีจิตสำนึก

ต่อไปหน่วยงาน HR  ต้องมีส่วนร่วมอย่างมากในการนำพาพนักงานและองค์กรไปสู่จุดนั้น  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กร ให้ภายนอกได้รับทราบ และเป็นการดึงดูดผู้สมัครรายใหม่  ที่มีความต้องการหางาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรอีกด้วย ซึ่งพนักงานรุ่นใหม่ เริ่มหันมาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น โดยเขาจะเลือกองค์กรในฝันของเขา  ที่จะเข้ามาร่วมงาน  ต้องเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสังคม  และทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

บทบาทของ HR สำหรับยุคการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การบริหารด้านบุคคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งบุคคลากรด้าน HR  จำเป็นจะต้องมีข้อมูลสำหรับพนักงาน ภายในองค์กรของตนเองพอสมควร  เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์ ออกแบบองค์กรให้เกิดความเหมาะสม  นอกจากนั้นแล้วยังต้องติดตามข้อมูลเคลื่อนไหว  ในระบบดิจิทัลและโลกออนไลน์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อองค์กรและเหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาแนวความคิดไปสู่โลกที่ไร้พรมแดน สร้างนวัตกรรมในการบริหารงานแบบใหม่

ดร.กฤติน   กุลเพ็ง     กรรมการผู้จัดการ    บริษัท ไอโอดี คอนเซาท์ติ้ง  แอนด์เทรนนิ่ง  จำกัด