องค์กรหลายแห่งเกิดปัญหา ในกรณีที่พนักงานใหม่ เข้าสู่องค์กร เกิดปัญหาที่ว่า ถึงจะให้โอกาสให้ทำงาน อย่างไรก็ไม่ผ่านการประเมินการทดลองงาน แต่ก็จะเกิดปัญหาที่มีระบบการประเมินได้วางไว้ให้พนักงานใหม่ทำการทดลองงาน 120 วัน หรือบางแห่ง 180 วัน ผู้บังคับบัญชาสายงานของพนักงาน อาจจะเกิดความไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ทำกันอยู่ทุกวัน ถูกต้องหรือไม่ มีคำถามเรื่องนี้อยู่เสมอว่า ถ้ากรณีพนักงานใหม่เข้ามาในองค์กรแล้ว พอมาทำงานสักระยะหนึ่ง การประเมินผลงานในเบื้องต้น
หลายองค์กรเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องรับคนพิการเข้ามาทำงาน เพื่อที่จะต้องการได้รับสิทธิ์การลดหย่อน โดยไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการ ตามกฎหมายที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2555 นี้ ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ เพียงแต่ขอความร่วมมือไปยังบริษัทต่างๆ ให้บริจาคเงินสบทบเข้ากองทุนคนพิการ พอมาในปัจจุบันบริษัท ห้างร้านที่ไม่รับคนพิการต้องการจ่ายเงินให้กับกองทุนพัฒนาคนพิการ เป็นตัวเงิน และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งผู้เขียนขอบรรยายลงในรายละเอียดของ พ.ร.บ.คนพิการที่ได้ประกาศใช้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ที่จะได้ตัดสินใจเลือกว่าจะจ่ายเงิน หรือรับคนพิการดี ขึ้นอยู่กับผู้บริหารองค์กรที่จะตัดสินใจ
การบริการอัตรากำลัง ขององค์กร เป็นสิ่งหนึ่ง ที่หน่วยงาน HR จำเป็นต้องทราบ และต้องทำความเข้าใจ กระบวนการทำงานของบริษัท ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อที่จะได้คำนวณอัตรากำลังได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนั่นเอง แต่ในครั้งนี้ ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่ออัตรากำลังพนักงานในองค์กร 1. จำนวนภาระหน้าที่งานของหน่วยงาน 2. ความรู้ ความสามารถ และทักษะของพนักงาน กรณีที่บริษัทมีพนักงาน ที่มีความรู้
ส่วนใหญ่นักบริหารงานบุคคล ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ ทดสอบ ว่าจ้าง รับเข้ามาเป็นพนักงาน ใบสมัครของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่คัดเลือก เพื่อนำมาเป็นเปรียบเทียบกัน ก็ถูกนำไปเก็บไว้ โดยที่ไม่ได้ใส่ใจประวัติดังกล่าวอีกเลย ซึ่งในยุคที่แรงงานค่อนข้างหายากเช่นนี้ นักบริหารงานบุคคล ควรเริ่มใส่ใจประวัติดังกล่าวนี้ใหม่ เหมือนกับวัตถุดิบ ในยุคแรกๆ ที่บริษัทนำวัตถุดิบไปผลิตสินค้าแล้ว เกิดความเสียหาย สินค้าถูกเคลมกลับคืนมายังบริษัท สินค้าดังกล่าวก็ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แต่พอมายุคปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญขึ้น ก็ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสินค้าที่ชำรุดเสียหาย
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องเก่าสมัยโบราณ ไม่น่าจะเกี่ยวกับการทำงานสักเท่าไร แต่ทำไม่เมื่อสมัยก่อน บางบริษัทจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การรับคนเอาไว้เลยว่า จะต้องไม่มีรอยสักตามตัวพนักงาน มีสาเหตุมาจากเรื่องอะไรกันแน่ ความเชื่อในเรื่องเหล่านี้ พอมาถึงยุคปัจจุบัน จะต้องปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้สิทธ์พนักงาน ที่มีรอยสักได้มาทำงานอย่างทัดเทียมกับผู้อื่นได้ จากประสบการณ์ของ ผู้เขียนเคยทำงานโรงงาน ก็เลยอยากจะมาแชร์ให้ผู้อ่านได้มองประเด็นในเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณารับพนักงานที่มีรอยสัก ไว้เป็นแนวคิด ประกอบการพิจารณาไว้ มีโรงงานแห่งหนึ่งที่เริ่มก่อตั้งโรงงานใหม่
กรณีลักษณะเช่นนี้ มีหลายๆ บริษัทมักจะมีข้อถกเถียงกันเป็นประจำ ว่าการที่พนักงานตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงการทดลองงาน บริษัทสามารถจะดำเนินการแจ้งพนักงานว่า ไม่ผ่านการทดลองงาน เพราะว่าการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ กระทำลักษณะเช่นนี้ จะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ประการใด หรืออาจจะมีบางบริษัท มีการเขียนลงไว้ในข้อบังคับของบริษัท เลยว่า ถ้ากรณีพนักงานตั้งครรภ์ บริษัทอาจถือว่า กระทำการผิดกฎของบริษัท ตามที่ได้เขียนไว้ ในข้อบังคับของบริษัท ซึ่งในช่วงที่พนักงานมาสมัครงาน และผ่านกระบวนการสัมภาษณ์แล้ว
การวิเคราะห์อัตรากำลัง ภายในองค์กร ก็จะเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่หน่วยงาน HR จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ของประเด็นต่างๆ ในองค์กรของตนเอง ว่ามีความเข้าใจลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด ส่วนงานนี้เป็นงานแรกที่หน่วยงาน HR จะต้องทำเป็นสิ่งแรก ก่อนที่จะดำเนินการทำการวางแผนอัตรากำลังคน ถ้าหน่วยงาน HR วิเคราะห์ อัตรากำลังผิดตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะทำให้การวางแผนอัตรากำลังผิดไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้นข้อมูลอะไรบ้างที่หน่วยงาน HR
หลายๆองค์กร อาจจะประสบปัญหากับการจ่ายเงินเดือนพนักงาน โดยเฉพาะระบบการจ่ายเงินเดือนในบริษัท ซึ่งในประเทศไทยเรามีการปรับเงินเดือนขึ้นค่อนข้างบ่อย ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงขององค์กร พนักงานก็จะวิ่งหางานที่ตนเองได้รับผลประโยชน์สูงสุด องค์กรก็ต้องพยายามรักษาพนักงานที่เป็น Talent ขององค์กรเอาไว้ จึงทำให้การดูแลพนักงานยิ่งยากกว่าเมื่อสมัยก่อน ในยุคก่อนบริษัทพิจารณาการปรับเงินเดือนพนักงานกันในช่วงปลายปี แต่พอในยุคปัจจุบันคงไม่พอ ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาระบบการขึ้นเงินเดือนพนักงานให้มีความถี่ขึ้น เพื่อป้องกันการดึงตัวจากองค์กรอื่น ฉะนั้นระบบการจ่ายเงินเดือนก็ต้องมีความแม่นยำ มีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งจะเกิดผลเสียในระยะยาวตามมา ผู้เขียนอยากจะยกตัวอย่าง
ในยุคแห่งโลกาภิวัตน์ ระบบการศึกษามีส่วนสำคัญในการที่องค์การจะพิจารณาตัดสินใจคัดเลือกพนักงานในเบื้องต้น เข้าสู่องค์การ ไม่ว่าจะเป็น วุฒิการศึกษา สถาบันการศึกษา เกรดเฉลี่ยที่จบ แขนงวิชาที่เรียน ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่องค์การโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการคัดเลือกคนเข้าสู่องค์การด้วยทั้งสิ้น เมื่อสมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่ค่อยเจริญ การคัดลอกเอกสารต่างๆค่อนข้างเป็นไปได้ยากมาก และประกอบกับยุคนั้น คนงานก็ยังไม่สนใจขวนขวายในการเรียนรู้เพิ่มเติมมากสักเท่าไรนัก พนักงานที่ทำงานในโรงงานส่วนใหญ่ มักจะเป็นพนักงานในระดับคนงานเท่านั้น พอมาในยุคปัจจุบันจะนิยมส่งลูกหลานให้เข้ารับการศึกษา ในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ เพื่อหวังว่าจะได้ก้าวหน้าเป็นใหญ่ เป็นโตในอนาคต มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงๆ
การบริหารคนในยุคปัจจุบัน ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น อันดับต้นๆ ของการบริหารจัดการองค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม ซึ่งระบบราชการได้มีมติ ครม.ให้มีการยกเลิกระบบซีที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เปลี่ยนมาใช้ระบบแท่งแทน ทำให้ภาครัฐมีการปรับแผนยกระดับการบริหารบุคคลกันขนานใหญ่ อย่างไรก็ตาม การบริหารดังกล่าวจะประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับ คงจะต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจ กับตัวบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ว่าระบบดังกล่าวมีผลดีต่อกระบวนการทำงานในอนาคตอย่างไร พร้อมทั้งผู้ที่จะนำไปปฏิบัติต้องมีความรู้อย่างแท้จริงในการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อองค์การ จะทำให้การบริหารผลตอบแทนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ จะเห็นได้ว่า การบริหารทางภาครัฐมีการปรับตัว ในส่วนของภาคเอกชนก็ได้มีวิวัฒนาการไปอีกระดับหนึ่ง