เมื่อได้ยินคำนี้ เหมือนกับเคยได้ยินคุ้นๆ กับคำสุภาษิตสมัยโบราณ  ผู้เขียน ขออธิบายความคำว่า “ตกเขียว” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่าหมายถึงวิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว หรือเปรียบโดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน. เบื้องต้นจะพูดถึงคำว่า “ตกเขียว” ในความหมายแรกก่อน ซึ่งแถบภาคเหนือของเรานิยมทำกันมาก แต่ในปัจจุบันมักจะอยู่ในรูปของการซื้อขายแบบ “ ตกเขียว “ การทำสัญญาซื้อขายกันในลักษณะนี้ ถือเป็นการทำสัญญาซื้อขายแบบเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้นั้น ได้โอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้วขณะที่ทำสัญญากัน  ฉะนั้นหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุสุดวิสัยใดๆ อันมิใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อันจะทำให้การชำระหนี้ของผู้ขายตกเป็นพ้นวิสัยแล้ว ย่อมตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ซื้อยังคงมีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระราคาให้กับผู้ขายอยู่ สำหรับผู้เขียนขอนำเรื่องนี้ มาใช้ในการรับคนเข้าสู่องค์กร  ในยุคปัจจุบันนี้ การสรรหาและคัดเลือก มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงมาก เพราะว่าแต่ละองค์กรต้องการหาคนที่เข้ามาทำงาน แต่ต้องประสบปัญหากับการขาดแคลน ทางด้านแรงงานที่เป็นระดับ worker   ทุกบริษัทเข้าไปรับสมัครพนักงาน ตามรั้วมหาวิทยาลัยทุกแห่ง พยายามที่ นำของชำร่วยของบริษัท ไปเป็นสิ่งจูงใจ

อ่านต่อ ...