จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เป็นสิ่งหนึ่งที่ตัวผมเองได้ประสบปัญหากับตนเองและได้ใช้เทคนิคนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งชีวิตการทำงานของพนักงานที่อยู่ในโรงงานที่ประจำอยู่ต่างจังหวัด ห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร การเจ็บไข้ได้ป่วย ย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ มักจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 ตัวผมเองได้รับการสัมภาษณ์งานและบรรจุแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่ง เป็น เจ้าหน้าที่บุคคล ประจำอยู่ โรงงานผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนังแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัด สระบุรี ขณะที่ไปทำงานใหม่ๆ บรรยากาศการทำงานเป็น สังคมพื้นบ้าน
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เข้ามาเป็นตัวช่วยในการบริหาร การบริหารคนก็ต้องอาศัยหลักของการให้ก่อน แล้วทุกอย่างก็จะตามมาเอง โดยไม่ต้องเรียกร้อง สำหรับการให้จะอยู่ในรูปการให้สิ่งของ หรือให้ด้วยใจ เช่น การให้คำปรึกษาที่ดี การช่วยเหลือโดยการขอร้องบุคคลที่สามให้มามีส่วนช่วยให้ปัญหายุติ การเข้าไปเยี่ยมเมื่อยามเจ็บไข้ เป็นต้น หลักของการทำงานโดยทั่วไป เมื่อเข้าไปทำงานวันแรก อย่าเพิ่งไปลงรายละเอียดของงาน ให้เริ่มที่เรียนรู้เรื่องคน ในองค์การก่อนว่า ในผังองค์การของบริษัทมีใครดำรงตำแหน่งอะไร
คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง องค์การทุกภาคส่วนพยายามที่หันมาใส่ใจ เรื่อง คนกันมากขึ้น ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของพนักงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การเองคงจะไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขององค์การอย่างเดียวควรจะให้มาใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตของพนักงานควบคู่ไปด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ มีส่วนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพนักงานอย่างแน่นอน องค์การจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และพยายามศึกษาหาวิธีการ เพื่อที่จะมาปรับปรุงการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกันด้วย ถ้าเรามามองกันในด้านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต จะประกอบไปด้วย ปัจจัยสี่ ความมั่นคง ความปลอดภัย
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่แต่ละองค์กร ได้จัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับพนักงาน แต่พนักงานมองไม่เห็นประโยชน์ ซึ่งผู้เขียนอยากจะขอทำความเข้าใจ เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เกิดความเข้าใจ กล่าวคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” นั่นคือ นอกจากลูกจ้างจะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยลูกจ้างออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างนานๆ
การตรวจร่างกายพนักงานที่บริษัท จะต้องรับเข้ามาทำงาน ซึ่งบางองค์กรได้ระบุเอาไว้ ก่อนที่จะเข้าปฏิบัติงาน จะต้องตรวจเลือดเพื่อดูผล HIV ขั้นตอนการตรวจในฐานะ HR จะต้องทราบและมีความเข้าใจในกระบวนการของกฎหมาย ที่มีความคุ้มครองผู้ถูกตรวจ ในกรณีดังกล่าว ถ้าฝ่าย HR ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ อาจะถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องร้องจาก ผู้ถูกตรวจได้ จากตัวอย่างที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ ในการตรวจผู้สมัครที่ได้รับการตรวจร่างกาย ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งในการตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงาน
บริษัทที่จัดสวัสดิการให้กับพนักงาน ที่อาจจะครอบคลุมถึงครอบครัวพนักงาน ซึ่งบางครั้ง เมื่อหน่วยงาน HR นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเลิศแล้ว อาจจะประสบปัญหาตามมาอีกมากมาย บางครั้ง ทำให้กระทบกระเทือนจิตใจพนักงานที่ทำงานภายในองค์กรก็มี จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ที่สมัยตอนทำงานอยู่ โรงงานแห่งหนึ่ง มักจะพบว่า กรณีที่บริษัทให้สวัสดิการพนักงาน โดยคลอบคลุมถึงครอบครัวพนักงาน เช่น สามี ภรรยา บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อมีการเขียนไว้ในลักษณะนี้ ฝ่ายบุคคลจะต้องมีเอกสารกำกับทุกคนว่า
สวัสดิการพนักงาน ที่ทุกองค์กรนิยมที่จะจัดให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อบริษัทว่ามีสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงานเพิ่ม โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานได้ตัดสินใจอยู่กับองค์กรนานๆ นั่นคือแนวคิดสมัยดั้งเดิมสำหรับพนักงานที่เป็นรุ่น Gen B เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การจัดสวัสดิการของบริษัท ฝ่าย HR จะต้องมีเข้าใจกับพฤติกรรมมนุษย์ ของพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการจัดสวัสดิการให้กับพนักงานที่เป็นการสูญเปล่า เพราะพนักงานไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อสวัสดิการที่บริษัทได้จัดให้ ทั้งๆ ที่เมื่อสมัยก่อน ถือว่าเป็นสวัสดิการที่สร้างแรงจูงใจเป็นอย่างมาก สำหรับพนักงานที่เติบโตมากับองค์กร
ผู้บริหารองค์กร ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ก็จะมีความตระหนักดี ว่าการที่สรรหาคัดเลือกพนักงานที่มีบุคลิก ลักษณะดี เข้ามาเป็นพนักงานภายในบริษัท จะส่งผลต่อองค์กรอย่างไรบ้าง จากสิ่งที่ บุคลิกภาพ เป็นปัจจัยแรกที่เป็นบ่อเกิดในการตัดสินใจของลูกค้า หรือผู้ที่พบเห็นเป็นอันดับแรก
องค์กรยุคใหม่ ที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของพนักงาน ก็ต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เมื่อพนักงานได้รับการบริการที่ดีจากองค์กร ก็จะมีความทุ่มเทให้บริษัท หลักการบริการองค์กรก็ต้องอาศัยผู้บริหารที่มี ทักษะ ความรู้ และมีจิตวิทยาการบริหารคน ควบคู่เข้ามาด้วย
ว่าการตรวจสุขภาพองค์กรนั้น กินความหมายมากกว่าเสียอีก โดยส่วนใหญ่บริษัทที่กำลังพัฒนาองค์กรไปสู่อีกระดับหนึ่ง…