องค์กรที่เปิดดำเนินงานมาสักระยะหนึ่ง  พนักงานและองค์กรมีอายุมากขึ้น สิ่งที่องค์กรจะต้องวางแผนในระยะยาวก็คือ จะค้นหาพนักงานที่จะมาทดแทน พนักงานที่จะใกล้เกษียณอายุอย่างไร  ซึ่งการที่บริษัทจะเลือกพนักงานที่มีศักยภาพขึ้นมาดำรงตำแหน่งทดแทน  จะมีเกณฑ์การคัดเลือกอย่างไร  จึงจะเหมาะสม  และยอมรับกันทั้งองค์กร

การวางแผนดังกล่าวจึงต้องมีกระบวนการ  ต้องมีการวางแผนสืบทอดตำแหน่งตั้งแต่เริ่มต้น  บริษัทต้องกำหนดหลักเกณฑ์ การเข้าดำรงตำแหน่งไว้ตั้งแต่เริ่มแรก   เพื่อให้พนักงานภายในองค์กรได้รับทราบ  หลักเกณฑ์ของบริษัท  ถึงการที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งทดแทน พนักงานที่ออกไป ไม่ว่าจะเป็นการ  เกษียณอายุ  ลาออก  เสียชีวิต  ปลดออก และ ไล่ออก   บริษัทจะมีพนักงานที่สามารถขึ้นมาทำงานทดแทน  ในตำแหน่งที่ว่างได้อย่างเหมาะสม และเป็นการยอมรับทั้งองค์กร

การวางแผนสืบทอดตำแหน่งจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่แต่ละบริษัทต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน อีกต่อไป  การที่บริษัทจะทำทั้งองค์กรเลยนั้น  จะกระทบต่อกระบวนการทำงานได้  จึงต้องมีการพิจารณาหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งขึ้นมาจัดหลักเกณฑ์  การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง  ในอันดับแรกเสียก่อน  เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นภายในองค์กร  ฉะนั้นการพิจารณาปัจจัยหลักของการวางแผนสืบทอดตำแหน่งนั้น  โดยส่วนใหญ่เขาพิจารณาอย่างไรบ้าง  ซึ่งผู้เขียน จะขออธิบาย เกณฑ์การคัดเลือกหน่วยงานที่จะต้องพิจารณามาจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งงานก่อนว่า เข้าข่ายอย่างไรบ้าง

  1. การตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (และกลยุทธ์ (Strategy) ขององค์กร)     อันดับแรกที่บริษัทจะต้องพิจารณาว่าตำแหน่งงานดังกล่าว  มีผลต่อภารกิจ และเป้าหมายขององค์กรมากน้อยเพียงใด  ถ้าผู้บริหารมองง่ายๆก็คือ  ถ้าขาดตำแหน่งนี้แล้ว  จะส่งผลต่อยอดขาย  การดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างไรบ้าง  โดยส่วนใหญ่บริษัทจะพิจารณาถึงความสำคัญของตำแหน่งงานนั้นเป็นอันดับแรก
  1. ตำแหน่งงานที่อยู่ในสายธุรกิจหลัก (CoreBusiness) ที่ทำรายได้และผลกำไรให้กับองค์กร    การพิจารณาว่าจะเป็นสายธุรกิจหลักนั้น  พิจารณาง่ายๆ ก็คือ  สายงานดังกล่าว  เป็นงานหลักของบริษัทหรือไม่  เช่น   ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม สายงานหลักคือ สายงานการผลิต   ธุรกิจโรงพยาบาล  สายงานหลักคือ แพทย์และพยาบาล  ธนาคาร สายงานหลัก คือ  บัญชีแลการเงิน  เป็นต้น
  2. ตำแหน่งงานที่ค่อนข้างหายาก โดยต้องใช้ระยะเวลานานในการสรรหาและ      คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง   จากนั้นหัวข้อที่ต้องพิจารณาต่ออีกก็คือ ตำแหน่งงานที่หายากในตลาด  และส่วนใหญ่การเข้ามาดำรงตำแหน่งของพนักงานมักจะอยู่ไม่นาน  มีการซื้อตัวในบริษัทคู่แข่งค่อนข้างสูง
  3. อัตราการลาออก (TurnOver) ของตำแหน่งงานนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง  สิ่งที่ผู้บริหารต้องเก็บข้อมูลต่อมาก็คือ  การเข้ามาทำงานของพนักงานแต่ละตำแหน่ง  มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงานบ่อย  มีอัตราการลาออกค่อนข้างสูง
  4. ตำแหน่งงานที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ  บางตำแหน่งเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะ ความรู้เฉพาะทาง  เป็นกรณีพิเศษ  เช่นจะต้องส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมในต่างประเทศ  มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  5. ตำแหน่งงานที่มีพนักงานใกล้เกษียณอายุ   บางองค์กรมีพนักงานที่มีอายุใกล้เกษียณ และยังหาพนักงานที่ขึ้นมา ทดแทนไม่ได้  หรือมีก็ยังไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้  จึงจำเป็นต้อง  รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน

       จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งนั้น  ผู้บริหารสามารถยึดถือเป็นแนวปฏิบัติขององค์กรได้เลยว่า  การที่จะบริษัทจะเลือกตำแหน่งงานใดที่เป็นหน่วยงานแรก  ที่จะเป็นสายงานที่นำร่อง ในการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง ให้เป็นตัวอย่างของบริษัท  เพื่อให้บริษัทได้มีพนักงานที่จะขึ้นมาทดแทนตำแหน่งที่พนักงานจะต้องออกจากองค์กรไป  ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ  ที่กล่าวมาแล้ว   ถ้าถามคำถามง่ายว่าองค์กรไม่ต้องจัดทำได้หรือไม่  ไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น  แน่นอนครับ  มีบางบริษัทที่มีผู้บริหารสายงาน  ต้องมีอันต้องออกจากบริษัทกรณีเร่งด่วน  ไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต  ซึ่งสายงานดังกล่าวไม่มีใครที่จะสามารถปฏิบัติงานทดแทนได้เลย ก็ภาระงานก็จะมาตกหนักที่ผู้บริหารสูงสุดที่จะต้อง  มาดูแลงานดังกล่าวเอง  และทักษะความเชี่ยวชาญ  ก็ไม่สามารถที่บริหารจัดการได้ครบทุกเรื่อง  บางงานอาจจะต้องกระทบกับยอดขาย  กำไร  และความเสียหายที่เกิดจากการตัดสินของผู้บริหารที่จะต้องมาดูแลปฏิบัติงานแทนได้  เพราะบางงานอาจจะต้องลองผิด ลองถูก จนกว่าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด  แน่นอนครับ ผลที่เกิดขึ้นต่อบริษัท คือการสูญเสียความน่าเชื่อถือของสินค้าหรือผู้รับบริการ เกิดความไม่แน่ใจ ในกระบวนการผลิต  อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท  ส่งผลต่อยอดขาย  กำไร  และ พนักงานภายในองค์กร